วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สาระสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา 
   สาระสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา


ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีของอนุสัญญาสำคัญ ๆ ว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเกือบทุกประเทศในโลกเป็นสมาชิก เช่น อนุสัญญากรุงเบิร์น (Berne Convention) ความตกลง TRIPs (Agreement on Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights) WTO และ GATT เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยได้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องและเป็นไปตามอนุสัญญาหรือความตกลงดังกล่าวเรื่อยมา
ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้วสองครั้งโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543 เป็นต้น
. บทบาทและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา 
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจัดเป็นคนละสิทธิหรือการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นผลผลิตทางทรัพย์สินทางปัญญานั้น เช่น ลิขสิทธิ์ในหนังสือจะไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกันกับความเป็นเจ้าของหนังสือซึ่งจับต้องได้ สิทธิบัตรในเรื่องอิเล็กทรอนิกส์จะแยกต่างหากจากความเป็นเจ้าของเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น เจ้าของหนังสือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ จึงมีกรรมสิทธิ์ในการใช้หรือจัดการทรัพย์นั้นตามความประสงค์ แต่ไม่สามารถทำการใด ๆ ซึ่งละเมิดต่อสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น เช่น เจ้าของหนังสือจะไม่สามารถทำหนังสือขึ้นมาจำหน่ายเองโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของลิขสิทธิ์ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำเป็นสิทธิทางกฎหมายแต่เพียงผู้เดียวของผู้ทรงสิทธิ์นั้น หรือผู้ซื้อซอร์ฟแวร์จะเป็นเจ้าของสินค้านี้เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ต่อ แต่จะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำซอร์ฟแวร์นั้นขึ้นมาจำหน่ายเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ทรงสิทธิก่อนเท่านั้น
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม โดยอาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
                ในโลกของธุรกิจการค้าทั้งในอดีตนับพันปีที่ผ่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน ต่างเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่ทราบนั้น อาจมีสาเหตุเกิดจากการใช้ศัพท์แสงที่ใช้สื่อสารกันมากกว่าสาเหตุอื่น ทั้งนี้เพราะว่าในการประกอบธุรกิจการค้านั้น จะต้องมีการผลิตสินค้าหรือบริการ แล้วนำสินค้าหรือบริการนั้นไปสู่ผู้บริโภค ดังนั้นกรรมวิธีในการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพ ตลอดจนชื่อ ยี่ห้อ หรือแบรนด์เนม ของสินค้าหรือบริการ หรือชื่อในทางการค้าที่ท่านเกี่ยวข้องอยู่นั้นต่างอยู่ในขอบเขตของทรัพย์สินทางปัญญานั้นเอง
           เมื่อเป็นเช่นนี้ การพูดเรื่อง บทบาทของทรัพย์สินทางปัญญากับการประกอบธุรกิจจึงเป็นการพูดถึงเรื่องต่าง ๆ ที่ท่านทั้งหลายต่างรู้อยู่แล้วไม่มากก็น้อย เพียงแต่จะนำมาเรียบเรียงและพูดให้เป็นระบบในมุมมองของผู้พูด โดยการนำเสนอลักษณะของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทให้ท่านได้คุ้นเคยมากยิ่งขึ้น แนะนำทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใหม่ให้ท่านได้รู้จัก กล่าวถึงทรัพย์สินทางปัญญากับการผลิตและการตลาด รวมทั้งการตัดสินใจว่าจะนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจของท่านหรือไม่
           ข้อความจริงประการหนึ่งที่จะขอนำมาทำความเข้าใจกันก่อนในเบื้องต้นก็คือ เนื้อหาที่จะพูดถึงต่อไปนี้ไม่มีเจตนาที่จะพูดเพื่อให้ท่านทั้งหลายกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างแน่นอน เพราะไม่สามารถทำได้ภายในเวลา ๑ ชั่วโมงเศษ แต่จะพูดให้ท่านทั้งหลายได้ใช้เป็นทุนในการตัดสินใจที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ต่อไปเท่านั้น
๒. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
 ทรัพย์สินทางปัญญาที่เรารู้จักกันอยู่บ้างแล้วในปัจจุบันมี ๓ ประเภท คือ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า ส่วนทรัพย์สินทางปัญญาที่กฎหมายเพิ่งจะออกมาคุ้มครองเมื่อปลายปี ๒๕๔๒ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ การคุ้มครองพันธุ์พืช กับการคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเมื่อกลางปี ๒๕๔๓ คือ การคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม สำหรับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ เช่นความลับทางการค้า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทต่างมีความหมายและขอบเขตการคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไป และบางส่วนของบางประเภทก็อาจจะทับซ้อนบ้าง ซึ่งจะได้พิจารณาในรายละเอียดกันต่อไป
๓. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท  
ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะให้ความหมายอย่างกว้าง ๆ ว่าหมายถึงผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ จึงนับเนื่องเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากสติปัญญาของมนุษย์ตามชื่อ ทรัพย์สินทางปัญญานั่นเอง
๓.๑ ลิขสิทธิ์ (Copyright)
                                 ลิขสิทธิ์เป็นผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์อันเกิดจากการริเริ่มของตนเอง ใช้ความ ชำนาญความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์และมีที่มาจากผู้สร้างสรรค์เอง ซึ่งหมายถึงไม่ได้ลอกเลียนงานของผู้อื่นนั่นเอง งานอันมีลิขสิทธิ์แบ่งออกเป็น ๙ ประเภท คือ
๑) งานวรรณกรรม เช่น ตำรา บทความ นวนิยาย คำบรรยาย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
๒) งานนาฏกรรม เช่น โขนรามเกียรติ์
๓) งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม (งานวาดเขียน) งานประติมากรรม (แกะสลัก, ปั้น) งานศิลปประยุกต์ (โคมไฟ, หัวเข็มขัด, ตุ๊กตา, เพชรพลอย)
                                                ๔) งานดนตรีกรรม ได้แก่ งานทำนองเพลง
                                                ๕) งานโสตทัศนวัสดุ เช่น VDO, VCD, DVD, งานภาพยนตร์
                                                ๗) งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง, CD เพลง
๘) งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น งานเผยแพร่ทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือผ่าน       ดาวเทียม
๙) งานอื่นในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ กฎหมายคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์เมื่อสร้างสรรค์งานขึ้น เป็นการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ไม่มีแบบพิธีในการจดทะเบียน๓ ส่วนอายุการคุ้มครองมีตั้งแต่ ๒๕ ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น จนถึงตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และอีก ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
                ส่วนงานที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่ ข่าวประจำวัน, กฎหมาย, ระเบียบหรือคำสั่งของทางราชการ, คำพิพากษาของศาล ฯลฯ
                                ๓.๒ สิทธิบัตร (Patent)
           สิทธิบัตรเป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เกี่ยวกับการประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ การประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นหรือคิดทำขึ้นเกี่ยวกับลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกลของผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ รวมทั้งกรรมวิธีต่าง ๆ ในการผลิต เก็บรักษาหรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
           ส่วนการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกหรือสีของผลิตภัณฑ์อันมีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากของเดิม
           ปัจจุบันกฎหมายสิทธิบัตรคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ ๓ รูปแบบ ได้แก่
                                ๑) สิทธิบัตรการประดิษฐ์
                                ๒) อนุสิทธิบัตร เป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์อย่างง่าย ๆ ที่ไม่ซับซ้อน (เช่น มุ้งลวดแบบม้วน, ไม้จิ้มฟันชนิดที่หักงอเป็นมุม)
                                ๓) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความหมายรวมถึงบรรจุภัณฑ์ด้วย กฎหมายคุ้มครองสิทธิบัตรก็ต่อเมื่อมีการขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร และทางราชการได้ออกสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรให้แล้ว ไม่ได้คุ้มครองโดยอัตโนมัติ ส่วนอายุคุ้มครองนั้นมีตั้งแต่ ๖ ปี ถึง ๒๐ ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่ จุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์หรือพืช กฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์ ฯลฯ ส่วนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ ได้แก่ แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น แบบผลิตภัณฑ์ลามกอนาจาร ฯลฯ
                                ๓.๓ เครื่องหมายการค้า (Trademarks)
๑) เครื่องหมายการค้า เป็นเครื่องหมายที่ใช้กำกับสินค้าเพื่อแยกแยะว่าสินค้านั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่น คนทั่วไปมักจะเรียกเครื่องหมายการค้าว่ายี่ห้อ หรือ
แบรนด์เนม (ในความหมายที่เป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียงแล้ว
เดิมเครื่องหมายการค้ามี ๒ ประเภท คือ เครื่องหมาย รูป และเครื่องหมาย คำ แต่ปัจจุบัน มีเครื่องหมายประเภทกลุ่มของสี รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุด้วย ตามปกติกฎหมายคุ้มครองอย่างเต็มที่เฉพาะเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว และมีอายุคุ้มครอง ๑๐ ปี แต่ต่ออายุได้คราวละ ๑๐ ปีและต่อได้เรื่อย ๆ

๒) เครื่องหมายบริการ (Service marks) เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับธุรกิจบริการ เพื่อแยกแยะว่าธุรกิจบริการนั้นแตกต่างกับธุรกิจบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของผู้อื่น 

                หลักเกณฑ์อื่น ๆ ในการคุ้มครองเครื่องหมายบริการก็เหมือนกับหลักเกณฑ์การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทุกประการ 
       
๓) เครื่องหมายรับรอง (Certificate marks) เป็นเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายใช้รับรองคุณภาพหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือบริการของผู้อื่น จะรับรองสินค้าหรือบริการของตนเองไม่ได้

                เครื่องหมายรับรองจะต้องมีการขอจดทะเบียนต่อทางราชการไว้ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายรับรองจะสิ้นสุดลงเมื่อเจ้าของเครื่องหมายรับรองตายหรือสิ้นสภาพบุคคล
          
๔) เครื่องหมายร่วม (Collective marks) เป็นเครื่องหมายการค้าหรือบริการที่ใช้โดยบริษัท วิสาหกิจ หรือองค์กรอื่นในกลุ่มเดียวกัน มักจะเรียกเครื่องหมายร่วมนี้ว่า เครื่องหมายของ บริษัทในเครือตัวอย่างของเครื่องหมายร่วม ได้แก่ หลักเกณฑ์อื่น ๆ ในการคุ้มครองเครื่องหมายร่วมก็เหมือนกับหลักเกณฑ์การคุ้มครองเครื่องหมายและเครื่องหมายบริการ

                                ๓.๔ การคุ้มครองพันธุ์พืช (Plant variety right protection)
                                เหตุที่มีการคุ้มครองพันธุ์พืชเพราะต้องการ ส่งเสริมให้มีการปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม โดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย เป็นการคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ (Creative ideas) ของนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะและปัญญาในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชขึ้นมาใหม่ และจัดเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญาได้ เพียงแต่ทางการไทยเลือกที่จะออกกฎหมายคุ้มครองเป็นพิเศษแตกต่างจากการคุ้มครองในระบบสิทธิบัตรที่มีอยู่แล้ว พันธุ์พืชที่จะขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายใหม่นี้จะต้องมีความสม่ำเสมอของลักษณะประจำพันธุ์ (Uniform) มีความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์(Stable) มีลักษณะประจำพันธ์แตกต่างจากพันธุ์อื่นอย่างเด่นชัด(Distinguishable) และจะต้องเป็นพันธุ์พืชใหม่ (New) ซึ่งหมายถึง จะต้องไม่มีการนำส่วนขยายพันธุ์มาใช้ประโยชน์เกินกว่า ๑ ปี ก่อนวันยื่นขอจดทะเบียนความใหม่ของพันธุ์พืชจึงจัดเป็นความใหม่ในเชิงพาณิชย์ (Commercial novelty) ไม่จำต้องเป็นความใหม่โดยแท้ (Absolute novelty) อย่างหลักเกณฑ์ในสิทธิบัตร พันธุ์พืชตัดต่อสารพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms) หรือที่เรียกกันว่า GMOs ก็อาจขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ได้ถ้าเข้าลักษณะครบทั้ง ๔ ประการดังกล่าว และปรากฏว่าได้ผ่านการประเมินผลกระทบทางด้านความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ หรือสวัสดิภาพของประชาชนแล้ว อายุคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่มีกำหนด ๑๒ ปี, ๑๗ ปี และ ๒๗ ปี (แล้วแต่ระยะเวลาเริ่มให้ผลผลิตหรือใช้ประโยชน์) นับแต่วันที่ออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่

๓.๕ การคุ้มครองตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทย
                                ตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยจัดเป็นภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และเพิ่งได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. ๒๕๔๒๑๒ ยาแผนไทยเป็นยาที่ได้จากสมุนไพรโดยตรง หรือผสม ปรุง แปรสภาพสมุนไพร ส่วนการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นกระบวนการทางการแพทย์โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อกันมา
                                หลักเกณฑ์ที่จะขอรับการคุ้มครองตามกฎหมายฉบับนี้แตกต่างจากกฎหมายสิทธิบัตรมาก กล่าวโดยสรุป หากขอรับการคุ้มครองจากกฎหมายสิทธิบัตรไม่ได้แล้ว ก็อาจจะขอได้จากกฎหมายฉบับนี้ ตำรับยาแผนไทยและตำราการแพทย์แผนไทยแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ประเภทของชาติทั่วไป และส่วนบุคคล การที่จะขอรับการคุ้มครองและส่งเสริมนั้นจะต้องขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ส่วนอายุการคุ้มครองนั้นมีตลอดอายุของผู้ทรงสิทธิ และอีก ๕๐ ปี นับแต่วันที่ผู้ทรงสิทธิถึงแก่ความตาย ซึ่งคล้ายกับอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์
          
                                ๓.๖ การคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม (Protection of Layout - Designs of Integrated Circuits)                                            เหตุผลที่มีการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวมก็คือ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยมีอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPs) ในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO)
                                สิ่งที่ได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ แบบผังภูมิของวงจรรวม ตัววงจรรวมและผลิตภัณฑ์ที่มีแบบผังภูมิของวงจรรวมประกอบอยู่ข้างใน แบบผังภูมิที่จะขอจดทะเบียนเพื่อคุ้มครอง ได้แก่ แบบผังภูมิที่ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นเอง และไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมวงจรรวม รวมทั้งการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่จากแบบผังภูมิหรือวงจรรวมอันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในอุตสาหกรรมวงจรรวม ในกรณีที่ได้นำแบบผังภูมิออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แล้ว การยื่นขอจดทะเบียนแบบผังภูมิต้องกระทำภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่ได้นำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ส่วนแบบผังภูมิที่ไม่มีการนำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ภายใน ๑๕ ปี นับแต่วันที่สร้างสรรค์เสร็จสิ้น ต้องห้ามขอจดทะเบียน หนังสือสำคัญแบบผังภูมิมีอายุ ๑๐ - ๑๕ ปี           

                                ๓.๗ ความลับทางการค้า (Trade secret)
                                ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติความลับทางการค้าอยู่ในระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ออกใช้บังคับเป็นกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ตามร่างกฎหมายดังกล่าว ความลับทางการค้า เช่น สูตรหรือเคล็ดลับของธุรกิจการค้า ข้อมูลที่เป็นรายชื่อหรือรายการเกี่ยวกับลูกค้าในธุรกิจประเภทต่าง ๆ ได้รับการคุ้มครองมิให้บุคคลอื่นนำไปเปิดเผยหรือใช้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ทรงสิทธิ ความลับทางการค้าที่จะได้รับการคุ้มครองนั้นผู้ควบคุมความลับดังกล่าวจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่สมควรในอันที่จะรักษาข้อมูลการค้าไว้เป็นความลับ แต่ไม่มีขั้นตอนในการจดทะเบียนหรือแจ้งให้ทางราชการทราบ ในกรณีที่เป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขาย ซึ่งยาหรือเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร (Agricultural chemical product) ร่างกฎหมายนี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียนและอนุญาตมีหน้าที่ในการดูแลรักษาความลับทางการค้าที่ผู้ขออนุญาตได้นำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาต และจดแจ้งให้หน่วยงานดังกล่าวดูแลรักษาความลับทางการค้าไว้

๔. สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property Rights)
                ตามปกติ เจ้าของสิทธิใดมีสิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นอยู่แล้ว แต่ความสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ที่เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญามีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive rights) ในการที่จะหวงห้ามไม่ให้ผู้อื่นมาใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้น และในขณะเดียวกัน เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก็มีสิทธิที่จะอนุญาต (License) ให้บุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญานั้นได้

                ๕. การได้มาซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาจได้มาได้หลายทางด้วยกัน คือ
๑) สร้างสรรค์หรือคิดค้นขึ้นมาเอง (Make or create)
                                ๒) พัฒนาขึ้นมา (Develop)
                                ๓) ขออนุญาตใช้สิทธิ (License)
                                ๔) รับโอนสิทธิจากผู้อื่น (Assign)
          
                ในองค์กรธุรกิจขนาดค่อนข้างใหญ่มักจะจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนา (Research and Development) หรือที่เรียกกันว่า R&D เพื่อทำการวิจัยและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา แล้วนำมาใช้ในองค์กรธุรกิจของตนเอง หรืออนุญาตให้องค์กรธุรกิจอื่นใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของตน โดยได้รับค่าตอบแทนจากองค์กรธุรกิจที่ขออนุญาตใช้สิทธิ ในกรณีเช่นนี้ องค์กรธุรกิจที่มีหน่วยวิจัยและพัฒนาอาจมีภาระด้านการเงิน อุปกรณ์ และบุคลากรนักวิจัยและพัฒนาที่มีความสามารถในองค์กรธุรกิจขนาดเล็กลงมาหรือแม้แต่องค์กรธุรกิจขนาดค่อนข้างใหญ่ หากเห็นว่า ไม่สามารถจะจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาได้ หรือเห็นว่าถึงแม้จะสามารถจัดตั้งได้ แต่ไม่คุ้มก็อาจเลือกวิธีขออนุญาตใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาจากเจ้าของสิทธิก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ หากองค์กรธุรกิจนั้นทราบเทคนิคการเจรจาต่อรองและการทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ก็จะได้รับประโยชน์จากการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาได้เต็มที่และคุ้มค่าเงิน
         
๖. ลิขสิทธิ์กับการประกอบธุรกิจ
                งานอันมีลิขสิทธิ์ทั้ง ๙ ประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรม, นาฏกรรม, ศิลปกรรม, ดนตรีกรรม, โสตทัศนวัสดุ, ภาพยนตร์, สิ่งบันทึกเสียง, แพร่เสียงแพร่ภาพ และงานอื่นในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ต่างเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ และส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกันโดยตรงอยู่แล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์ที่จะขอพูดถึงเป็นพิเศษก็คือ งานศิลปประยุกต์ ซึ่งจัดอยู่ในประเภทศิลปกรรม งานศิลปประยุกต์ หมายถึง งานวาดเขียน, แกะสลักหรือปั้น, ภาพพิมพ์, สถาปัตยกรรม, ภาพถ่าย และแผนที่ ซึ่งนอกจากจะสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อชื่นชมในคุณค่าของตัวงานแล้ว ยังนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำไปใช้สอย, ตกแต่งวัสดุหรือสิ่งของอันเป็นเครื่องใช้ หรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ตัวอย่างของงานศิลปประยุกต์ ได้แก่ ฐานโคมไฟที่มีรูปสตรีกำลังร่ายรำ, หัวเข็มขัดที่ออกแบบด้วยแนวคิดทางศิลปะ, วอลล์เปเปอร์, เครื่องเพชรพลอยที่มีลักษณะทางศิลปะ (Artistic jewelry) และตุ๊กตา๑๔ งานเหล่านี้จะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าเป็นงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเองโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบจากงานของผู้อื่นหรือไม่ ถ้าสร้างสรรค์งานขึ้นมาเองก็เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ แต่ถ้าลอกเลียนแบบจากงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากผู้ลอกเลียนจะไม่ได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ตนลอกเลียนมาแล้ว ยังถือว่าเป็นการละเมิดงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น มีความรับผิดต้องชดใช้ค่าเสียหายและได้รับโทษทางอาญาโดยการจำคุกหรือปรับด้วย งานศิลปประยุกต์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเช่นเดียวกับงานอันมีลิขสิทธิ์อื่น ซึ่งเป็นการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ไม่มีแบบพิธีในการจดทะเบียน แต่มีอายุคุ้มครองค่อนข้างสั้น คือ ๒๕ ปี เท่านั้น

๗. สิทธิบัตรกับการประกอบธุรกิจ
                สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ Know-how ในการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ (Packaging) โดยตรง แต่ในการขอรับสิทธินั้นมีขั้นตอนและใช้เวลาค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถขอรับอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) ซึ่งเป็นการคุ้มครองการประดิษฐ์ที่มีเทคโนโลยีไม่สูงพอที่จะขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ได้ แต่ใช้ประโยชน์ได้ดีในสภาพการใช้งานจริงในประเทศไทย และเหมาะสมแก่ระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของนักประดิษฐ์ไทยในการขอรับอนุสิทธิบัตรมีขั้นตอนและใช้เวลาน้อยมาก เพียง ๑-๓ เดือน ก็ได้รับแล้ว กล่าวคือหลังจากยื่นคำขอรับอนุสิทธิบัตรแล้ว ทางราชการจะตรวจคำขอว่าถูกต้องหรือไม่ และตรวจสอบว่าการประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรเข้าองค์ประกอบและไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ หากผ่านการพิจารณาแล้วทางราชการจะจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตรให้ โดยไม่ต้องมีการประกาศโฆษณาคำขอรับอนุสิทธิบัตรเพื่อให้มีการคัดค้านหรือตรวจสอบการประดิษฐ์ก่อนอนุสิทธิบัตรมีอายุการคุ้มครอง ๖ ปี นับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตร แต่สามารถต่ออายุได้ ๒ คราว คราวละ ๒ ปี
         
๘. เครื่องหมายการค้ากับการประกอบธุรกิจ
                ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ต่างเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจโดยตรงอยู่แล้ว เพราะสินค้าหรือบริการจะต้องมี ยี่ห้อ ให้เรียกขานเพื่อบอกความแตกต่าง บอกแหล่งที่มา บอกคุณภาพ และเพื่อประโยชน์ในการโฆษณา หรือส่งเสริมการขายเครื่องหมายเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนเครื่องหมายต่อทางราชการแล้ว อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายที่ไม่ได้จดทะเบียนก็อาจได้รับการคุ้มครองในบางระดับ เช่น เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายนั้นขึ้นมาและใช้อยู่ก่อนแล้ว หรือใช้จนกระทั่งมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (Well-known marks)

                ๙. ทรัพย์สินทางปัญญากับการผลิต
                การประกอบธุรกิจในปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ คอมพิวเตอร์ในส่วนของซอฟต์แวร์ เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ ส่วนฮาร์ดแวร์เป็นเรื่องของสิทธิบัตร ทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่างก็มี ยี่ห้อ ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเครื่องหมายการค้า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนก่อนเริ่มธุรกิจ การผลิต การตลาด การบริหารงานบุคคล รวมทั้งการเงินและบัญชีเฉพาะในส่วนของการผลิตนั้น ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง กล่าวคือ หากท่านต้องการจะผลิตสินค้าใด ท่านจะต้องมีสิทธิและรู้วิธีการในการผลิตนั้น ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์นั้น หมายความว่า ท่านจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นศิลปประยุกต์หรือไม่ก็เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือโอนสิทธิ ซึ่งก็คงต้องจ่ายค่าตอบแทน ส่วนกรณีที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรนั้น หมายความว่า ท่านจะต้องเป็นเจ้าของเทคโนโลยี หรือ Know-how ในการผลิตสินค้านั้น หากท่านไม่ใช่เจ้าของ ท่านจะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือได้รับโอนสิทธินั้นมา ซึ่งก็หมายความว่า ท่านต้องจ่ายค่าตอบแทนในการที่จะใช้หรือรับโอนเทคโนโลยี หรือ Know-how นั้น ๆ
        
                ๑๐. ทรัพย์สินทางปัญญากับการตลาด
                 การประกอบธุรกิจในขั้นตอนการตลาดนั้น เกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมโดยตรง ไม่ว่าท่านจะส่งสินค้าหรือบริการไปขายเฉพาะในประเทศหรือทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยก็ตาม เมื่อท่านประกอบธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และสินค้ามีคุณภาพเหมาะสมกับราคา ย่อมทำให้ ยี่ห้อŽ ของสินค้าหรือบริการของท่านเป็นที่รู้จักและนิยมซื้อมาใช้ ทำให้ท่านสามารถทำการตลาดได้โดยง่ายและรวดเร็ว ในบางกรณี แม้เพียงมีการพูดถึง ยี่ห้อ ของสินค้าหรือบริการใด ผู้คนก็นึกถึงสินค้าหรือบริการของท่านทันที
                ปัจจุบันขอบเขตของการตลาดในองค์กรธุรกิจหลายแห่งเริ่มขยายไปสู่การตลาดในรูปแบบใหม่ทาง Internet นั่นคือ e-commerce หรือ e-business ซึ่งทำให้กลายเป็นการตลาดที่หลายข้อจำกัดของเขตแดนและเวลาไปได้ ทำให้มีการซื้อขายสินค้าหรือบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็วและตลอดเวลา ๒๔ ชั่วโมง e-commerce เป็นกลไกที่อาศัยคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นซอฟต์แวร์ ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของลิขสิทธิ์ ในกรณี Domain Names ซึ่งเป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายที่ถูกเชื่อมไปยัง Internet ก็อาจมีการลักลอบ (hijack) เอาเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นไปขอจดทะเบียนกับผู้ให้บริการ (provider) เจ้าของเครื่อง หมายการค้านั้น คงต้องขอรับการคุ้มครองจากกฎหมายเครื่องหมายการค้า
         
๑๑. การนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจ
                 การตัดสินใจว่าจะนำทรัพย์สินทางปัญญาใดไปใช้ประโยชน์ในการประกอบธุรกิจหรือไม่ ถือเป็นลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision) ซึ่งจะต้องพิจารณาลักษณะ ขนาด และขอบเขตของธุรกิจว่า เป็นธุรกิจอะไร ขนาดใหญ่หรือเล็ก และจะทำธุรกิจเฉพาะภายในประเทศ หรือทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้เต็มรูปแบบเกี่ยวพันกับความสามารถขององค์กรธุรกิจนั้น ๆ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเงินและเวลา เนื่องจากการขอรับการคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญาบางประเภทจะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
               
๑๑.๑ ลิขสิทธิ์  เป็นการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องจดทะเบียน แต่คุ้มครองไม่เข้มแข็งเพราะหากมีผู้อื่นสร้างสรรค์งานเดียวกันโดยไม่ได้เลียนแบบใครแล้ว ก็ไม่เป็นการละเมิด เมื่อผู้ประกอบการเป็นเจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์ใด และมีผู้มาละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นธุรกิจในประเทศ ก็ขอรับการคุ้มครองจากกฎหมาย ซึ่งสามารถทำได้โดยง่ายและเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก แต่หากเป็นธุรกิจในต่างประเทศ คงจะทำได้ไม่ง่ายนักและเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก
         
๑๑.๒ สิทธิบัตร จะได้รับการคุ้มครองก็ต่อเมื่อมีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและได้รับสิทธิบัตรมาแล้ว สินค้าบางประเภท เช่น สินค้าที่ทำด้วยมือและต้องอาศัยทักษะเป็นสำคัญ มีการเปลี่ยนแบบไปตามลูกค้าของแต่ละท้องถิ่น การขอรับสิทธิบัตรก็อาจจะไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ต้องการขอรับสิทธิบัตร และในขณะเดียวกันต้องการจะผลิตสินค้าออกจำหน่ายด้วย ขอให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรไว้ก่อน ในระหว่างการพิจารณาออกสิทธิบัตร ผู้ประกอบการอาจผลิตสินค้าออกจำหน่ายไปด้วยก็ได้ โดยระบุที่ตัวสินค้าหรือภาชนะบรรจุสินค้าไว้ว่า รอรับสิทธิบัตร (Patent Pending)
         

๑๑.๓ เครื่องหมายการค้า   เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทที่ผู้ประกอบการน่าจะต้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เสมอ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไม่มาก ในกรณีที่ผู้ประกอบการส่งสินค้าไปขายในต่างประเทศด้วย หากประสงค์ที่จะติดต่อค้าขายในระยะยาว ก็น่าที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศต่าง ๆ ที่ตนส่งสินค้าไปจำหน่ายด้วย มิฉะนั้น หากคนในต่างประเทศแอบนำเครื่องหมาย การค้าของผู้ประกอบการในประเทศไทยไปจดทะเบียนในต่างประเทศนั้นแล้ว สินค้าของผู้ประกอบการในประเทศไทยอาจจะนำไปจำหน่ายในประเทศนั้นไม่ได้ แม้ในที่สุดจะมีการดำเนินคดีในประเทศนั้น จนผู้ประกอบการในประเทศไทยชนะคดี สามารถนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายได้ ก็อาจต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศนั้นตั้งแต่ต้น
        
๑๒. บทสรุป
                ในโลกธุรกิจยุคใหม่ นับวันทรัพย์สินทางปัญญาจะมีความสำคัญต่อการประกอบธุรกิจยิ่ง ๆ ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทเดิมที่รู้จักกันบ้างอยู่แล้ว คือ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใหม่ คือ การคุ้มครองพันธุ์พืช การคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ๆ ที่จะมีตามมาในอนาคต เช่น ความลับทางการค้า จึงควรที่ผู้ประกอบการจะได้รู้และตระหนักถึงความสำคัญ แล้วนำมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมแก่กิจการของตน การคิด พิจารณา และดำเนินการตั้งแต่เริ่มแรก ย่อมนำมาซึ่งผลตอบแทนอันทรงคุณค่ายิ่งแก่การประกอบธุรกิจในระยะต่อ ๆ ไป
ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
. ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร
ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น
. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา โดยทั่วๆ ไป คนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า ลิขสิทธิ์ซึ่งใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ที่เรียกว่า ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ไม่ใช่สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม แท้ที่จริงแล้ว ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม
. ความหมายของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภท
ลิขสิทธิ์ หมายถึง งานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม งานภาพยนตร์ หรืองานด้านอื่นใดในแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้งสิทธิข้างเคียง (Neighboring Right) คือ การนำเอางานด้านลิขสิทธิ์ออกแสดง เช่น นักแสดง ผู้บันทึกเสียงวิทยุและโทรทัศน์ในการบันทึกหรือถ่ายทอดเสียงหรือภาพโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Program หรือ Computer Software) คือ ชุดคำสั่งที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
งานฐานข้อมูล (Data Base) คือ ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
สิทธิบัตร   หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การอกกแบบ
ผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
                การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ การคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างกันไปจากเดิมผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อนุสิทธิบัตร         (
Petty Patent) จะมีลักษณะคล้ายกับ การประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
                แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังปรือแบบที่ทำขึ้น เพื่อเสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อวงจร ไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน
                เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ ได้แก่
เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น โค้ก เป๊ปซี่ บรีส แฟ้บ เป็นต้น
                เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าการที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างกับการที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น
                เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม
แม่ช้อยนางรำ เป็นต้น
                เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือรัฐวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
                ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลทางค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ
                ชื่อทางการค้า หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น
                สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้ แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ส้มบางมด ผ้าไหมไทย แชมเปญ คอนนัค เป็นต้น
ประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา 4 ฉบับ คือ
                1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542

                2. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534  แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
                (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543
                3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
                4. พระราชบัญญัติคุมครองแบบแผนผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ.2543
                นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกกฎหมายให้ความ      คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท ต่อไปในอนาคต